ชนิดของวาล์วแต่ละประเภทที่ใช้ในงานท่อ โรงงานอุตสาหกรรม
วาล์วอุตสาหกรรม เป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีหน้าที่ควบคุมการไหลของของเหลวในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น น้ำ สารเคมี แก๊ส อากาศ โดยวาล์วจะทำหน้าที่คือเปิดหรือปิดทางเดินของเหลว ควบคุมอัตราการไหลได้ สามารถปรับให้ของเหลวไหลในระดับที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลได้โดยง่าย ป้องกันการไหลย้อนกลับป้องกันไม่ให้ของเหลวไหลมาผสมกันส่วนการควบคุมการทำงานของวาล์ว มีทั้งวาล์วที่ควบคุมได้เองโดยอัตโนมัติ และวาล์วที่ควบคุมได้โดยใช้มือปรับ
.
1. Gate Valve หรือ วาล์วประตูน้ำ
โครงสร้างของวาล์วจะมีแผ่น Disc (ลิ้นวาล์ว) เลื่อนขึ้น/ลงในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการไหล ออกแบบมาเพื่อให้เวลาใช้ควรเปิดให้สุด และปิดให้สุด ไม่ควรเปิดครึ่ง ๆ กลาง ๆไม่เหมาะสำหรับการใช้ควบคุมการไหล, ไม่เหมาะกับการเปิดหรี่ หรือเปิดเพียงเล็กน้อย
ข้อดี คือ ค่าความดันลด (pressure drop) คร่อมวาล์วต่ำเมื่อวาล์วเปิดเต็มที่ ระยะ face to face ไม่มาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ใช้ได้ที่อุณหภูมิสูง แรงดันสูง
ข้อจำกัด คือ ไม่เหมาะกับการเปิดหรี่หรือเปิดเพียงเล็กน้อย เพราะของไหลจะไหลผ่านด้วยความเร็วที่สูงมาก ตัว disc เกิดการสั่นอย่างรุนแรง จนสามารถทำให้ disc หรือ seat ของตัว body เองเกิดการสึกหรอได้ กรณีที่ความดันระหว่างด้าน upstream และ downstream ในขณะที่วาล์วอยู่ในตำแหน่งปิดแตกต่างกันมาก จะทำให้เปิดวาล์วได้ยาก กรณีใช้กับสารแขวนลอย ของแข็งที่แขวนลอยอยู่จะตกค้างอยู่ระหว่างบริเวณด้านล่างของแผ่น disc และ seat ของตัววาล์ว ทำให้วาล์วปิดไม่สนิทได้ ใช้เวลาในการปิด-เปิดนาน
2. Globe valve
เป็นวาล์วที่ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมอัตราการไหลของของไหล หมุนปรับได้หลายรอบ การปิด-เปิดวาล์วจะอาศัยลิ้นวาล์ว (Disc) เคลื่อนที่ขึ้น-ลงเข้าหาบ่าวาล์ว ของไหลที่ไหลผ่านตัววาล์วจะมีการหักเลี้ยวหลายครั้งแม้ว่าวาล์วจะเปิดเต็มที่ เมื่อของไหลไหลเข้ามาในตัววาล์ว ของไหลจะถูกบังคับให้ไหลลงล่างและหักเลี้ยวขึ้นข้างบน จึงเกิด pressure drop สูง
ข้อดี คือ เหมาะกับการทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหล, มีการหมุนปรับวาล์วบ่อยๆการเปิดปิดลิ้นวาล์วปราศจากแรงเสียดทาน ทำให้ความสามารถในการกันรั่วมีประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้ที่อุณหภูมิและแรงดันสูง ส่วนอัดปะเก็นของวาล์วสามารถระบายความดันออกได้ทำให้ไม่เกิดการรั่วบริเวณก้านวาล์ว กรณีที่ความดันด้าน upstream และdownstream แตกต่างกันมากในตำแหน่งที่วาล์วปิด การเปิด globe valve ทำได้ง่ายกว่าการเปิด gate valve
ข้อจำกัด คือ ทิศทางการไหลของของไหลมีลักษณะวกวน ทำให้เกิดแรงต้านทานการไหลมาก กรณีของของไหลที่มีของแข็งปนอยู่ ของแข็งนั้นอาจตกค้างบนผิว seat ขนาดและน้ำหนักของวาล์วมีค่ามาก อาจไม่เหมาะกับของไหลที่มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากเมื่อวาล์วปิดตัวแล้ว stem จะมีความร้อนลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของ stem ส่งผลให้เกิดการรั่วที่หน้าวาล์วได้
3. Ball Valve
เป็นวาล์วที่มีลูกบอลกลมอยู่ภายใน ส่วนกลางของลูกบอลมีรูให้ของไหลไหลผ่าน การปิด/เปิด 90 องศา ทำให้ปิด/เปิดได้รวดเร็ว
ข้อดี คือ หมุนเพียง 90 องศาก็สามารถเปิดวาล์วได้เต็มที่หรือปิดวาล์วได้สนิท ป้องกันการรั่วได้ดีที่สุด เนื่องจาก Ball seat เป็นวัสดุอ่อน ใช้งานได้ดีกับของไหลที่มีของแข็งปะปนอยู่ เนื่องจากการปิด–เปิดเป็นการเคลื่อนที่แบบกวาด Pressure drop ต่ำมาก เนื่องจากเป็นการไหลแบบเต็มท่อรับความดันได้สูง ง่ายในการประกอบให้เป็นวาล์วอัตโนมัติ
ข้อจำกัด คือ ข้อจำกัดด้านอุณหภูมิตาม ball seat เทียบกับ gate valve ที่ใช้กับท่อขนาดเดียวกันแล้ว ball valve จะมีขนาดใหญ่กว่าและหนักกว่า ใช้พื้นที่โดยรอบที่กว้างกว่าในการเปิดปิดวาล์ว เช่น วาล์วขนาด 6 นิ้วจะต้องใช้ก้านหมุนที่มีรัศมีประมาณ 1 เมตร
4. Butterfly Valve หรือ วาล์วปีกผีเสื้อ
เป็นวาล์วในตระกูลวาล์วที่เรียกว่า quarter-turn valve ตัว “ปีกผีเสื้อ” คือลิ้นวาล์วที่เป็นแผ่นโลหะวงกลมต่อกับก้านวาล์ว สามารถหมุนได้ 90 องศา เพื่อเปิด-ปิดเส้นทางการไหล การเปิดวาล์ว : แผ่น Disc วางตัวขนานกับทิศทางการไหล การปิดวาล์ว : แผ่น Disc ตั้งฉากขวางทิศทางการไหล
ข้อดี คือ สภาพต้านทานการไหลต่ำเมื่อเปิดเต็มที่ สามารถควบคุมอัตราการไหลเมื่อเปิดประมาณ 15 ถึง 70 องศา การเคลื่อนที่ของลิ้นวาล์วมีลักษณะแบบกวาด จึงสามารถใช้กับของไหลที่มีเศษของแข็งแขวนลอยได้ น้ำหนักเบา,ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย โครงสร้างไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการบำรุงรักษา ราคาถูก
ข้อจำกัด คือ ข้อจำกัดด้านอุณหภูมิและแรงดันใช้งาน ลักษณะของ Disc ที่อยู่ขวางการไหลจึงอาจทำความเสียหายต่อ Disc ได้ รวมทั้งหากเกิดตะกรันหรือตะไคร่น้ำเกาะอยู่ตาม Disc จะทำให้เกิดการรั่ว การลดความดันของเหลวที่มากเกินไปอาจนำไปสู่การเกิดโพรงอากาศได้
5. Check Valve หรือ วาล์วกันกลับ
เป็นวาล์วที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เปิดเมื่อมีของไหลไหลผ่าน และปิดเมื่อของไหลมีทิศทางย้อนทางเดิม รูปแบบ 1.Lift Check Valve ติดตั้งแนวนอน 2.Swing Check Valve ติดตั้งแนวนอน และแนวตั้ง 3.Wafer Check Valve ติดตั้งแนวนอน และแนวตั้ง
เปรียบเทียบ Swing & Lift Check Valve
Swing check valve : เมื่อวาล์วเปิดแล้วจะมีแรงด้านทานการไหลที่ต่ำ กรณีที่การไหลหยุดกะทันหัน จะทำให้ disc ตกลงจากตำแหน่งเปิดเต็มที่ มาอยู่ที่ตำแหน่งปิดทันที ส่งผลให้ disc กระแทกกับ seat ของวาล์วอย่างแรง และอาจทำให้ตัว disc หรือ seat เกิดความเสียหายและมีเสียงดัง ติดตั้งได้ทั้งแนวตั้ง , แนวนอน
Lift check valve : ความดันลดคร่อมตัววาล์วที่สูงกว่า ไม่เกิดปัญหาการปิดกระแทกอย่างรุนแรงเหมือน swing check valve เนื่องจาก disc จะค่อยๆ ปิด ติดตั้งได้เฉพาะแนวนอน
.
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ;
Tel. : 02-678-2530-40
Fax : 02-678-2550-51
E-mail : sale@kcbkk.com หรือ info@kcbkk.com
Facebook : KC Mahanakorn Co.,Ltd. https://www.facebook.com/kcmahanakorn
Line official ID: @kcbkk https://lin.ee/pycb2T6
#KCmahanakorn #นึกถึงPartnerนึกถึงKCMahanakorn #valve #วาล์ว #เคซี #วาล์วอุตสาหกรรม #energysaving #Japan #วาล์วคุณภาพ #yoshitake