บริษัทโยชิทาเคะเป็นบริษัทผู้ผลิตวาล์วที่ใช้ในการอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของโยชิทาเคะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการด้วยตนเอง (Self-actuated regulating Valve) โดยใช้กลไกที่ขับเคลื่อนด้วยสปริง ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก เช่น พลังงานไฟฟ้าในการควบคุมการทำงาน ผลิตภัณฑ์ของเราจึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานและรักษาสภาพแวดล้อม แม้ว่าคนส่วนใหญ่อาจไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวาล์ว เพราะไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชิวิตประจำวัน แต่แท้ที่จริงแล้ว วาล์วนั้นถูกใช้อย่างแพร่หลายใน โรงงาน สิ่งก่อสร้าง และสถานบริการ รวมไปถึงการถูกใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรกลต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ไม่อาจขาดได้ในการประกอบอุตสาหกรรมในปัจจุบัน การบริหารงานของโยชิทาเกะไม่ได้ถูกกระทำโดยมุ่งเน้นแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว ทุกขั้นตอนการผลิตและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เราคำนึงถึงการให้อัตถประโยชน์แก่ลูกค้าและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเสมอ ด้วยการผลิตและพัฒนาสินค้าของบริษัทอย่างไม่หยุดยั้ง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างไม่มีบกพร่อง ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพ และความปลอดภัย
Product from YOSHITAKE
วาล์วลดความดัน (Pressure reducing valve)
วาล์วลดความดันเป็นวาล์วที่ใช้ลดความดันเพื่อใช้งานในวงจรย่อย ตัวอย่างเช่นวงจรหลักใช้ความดัน 200 บาร์ แ ต่วงจรย่อยใช้ความดัน 100 บาร์ เราจะต้องลดความดันจาก 200 บาร์ให้เหลือ 100 บาร์เพื่อจ่ายให้กับวงจรย่อยนี้
Pressure Safety Value (วาล์วนิรภัย) หรือ Pressure Relief Valve (วาล์วระบายแรงดัน)
เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบมีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้วาล์วทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันด้านการใช้งาน กล่าวคือ Pressure Safety Value จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ (Compressible Fluid)เช่น ไอน้ำ หรือก๊าซ ซึ่งต้องการระบายความดันอย่างรวดเร็ว สำหรับ Pressure Relief Valveจะใช้กับของเหลาวที่บีบอัดไม่ได้ (Non Compressible Fluid) เช่น น้ำ หรือน้ำมัน ซึ่งจะระบายความดันอย่างช้าๆโดยวาล์วทั้งสองชนิดมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันได้แก่
- Valve Body ส่วนใหญ่ผลิตจากเหล็กหล่อหรือวัสดุอื่นตามการใช้งานโดยเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถังความดันที่จะทำการปกป้อง
- Disc ลักษณะเป็นแผ่นกลมที่ใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริงโดย Disc นี้จะทำหน้าที่รับแรงดันไว้ทั้งหมด
- Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยัง Discโดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
- สปริง เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงดันต้านทานความดันที่ Disc การปรับ Adjust Screwให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดค่าความดันที่จะให้วาล์วทำการระบาย (Set Pressure)
- Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้เองที่ใช้ทำการปรับตั้งค่าความดัน
Solenoid Valve
หลักการทำงานของกลไกการปฏิสัมพันธ์แม่เหล็กไฟฟ้าใช้อำนาจการป้อนข้อมูลที่จำเป็นต้องมี การทำงานในการควบคุมกลไกวาล์วจะปิดหรือเปิด
สตีมแทรป (Steam Trap)
สตีมแทรป (Steam Trap) เป็นวาล์วชนิด พิเศษที่ใช้ในระบบไอน้ำเพื่อช่วยให้กระบวนการแลกเปลี่ยน ความร้อน ของระบบไอน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยลด ต้นทุนการผลิตของระบบไอน้ำ ซึ่งสตีมแทรปทุกชนิดจะ มีวิธีการทำงาน 3 อย่างที่สำคัญอันได้แก่
- เปิดเพื่อระบายคอนเดนเสท (Condensate)
- ปิดเพื่อป้องกันไอน้ำรั่วไหล
- เปิดเพื่อระบายอากาศและแก๊สที่ไม่ควบแน่นออก
สตีมแทรปมีความจำเป็นอย่างไรต่อระบบไอน้ำ
- ในระบบไอน้ำอุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำต่างๆกัน เช่น หม้ออุ่นน้ำร้อน,เครื่องอบผ้าจะรับพลังงานจากไอน้ำ เมื่อไอน้ำ ถ่ายเทพลังงานความร้อนจะกลั่นตัวเป็นคอนเดนเสท ซึ่งจะต้องทำการระบายออกจากระบบไอน้ำอย่างรวดเร็วหากไม่มี การระบายออกหรือระบายออกไม่หมดคอนเดนเสทนี้จะผ่านเข้าไปในส่วนที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนมีผลทำให้ ประสิทธิภาพในการถ่ายเทพลังงานความร้อน ลดลงอย่างมาก อันเนื่องจากความแตกต่างกันของระดับพลังงานระหว่างคอน เดนเสทกับไอน้ำ
- สตีมแทรปจะเป็นตัวป้องกันการรั่วของไอน้ำ ในขณะที่ต้องระบายคอนเดนเสทออก จะทำให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ยังช่วยลดผลกระทบอันเกิดจากการ รั่วไหลออกของไอน้ำ ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิและความดันของคอนเดนเสทเพิ่มสูงขึ้น หากว่าไอน้ำรั่วออกไปมากจนอุณหภูมิของคอนเดนเสทสูงอาจทำให้เกิด Cavitation ขึ้นในปั๊ม คอนเดนเสทได้
- ในการเริ่มเดินระบบไอน้ำจะต้องทำการระบายอากาศและแก๊สอื่นที่ไม่ควบแน่นออกจำนวนมากก่อนที่จะปล่อยให้ไอน้ำเข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นจะต้องระบายอากาศและแก๊สนี้ออกจากระบบตลอดเวลาเพื่อไม่ให้อากาศและแก๊สที่ไม่ควบแน่นนี้มีผลกระทบต่อระบบ เพราะหากไม่ระบายออก แก๊สที่ไม่ควบแน่นนี้จะไปขัดขวางกระบวนการถ่ายเทความร้อนของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนลดลง และแก๊สเหล่านี้เมื่อละลายในคอนเดนเสท จะยิ่งทำให้กระบวนการผุกร่อนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แก๊สที่ไม่ควบแน่นที่สำคัญ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถละลายในคอนเดนเสททำให้มีสภาพเป็นกรด เป็นตัวเร่งกระบวนการ Condensate Grooving และ Generalized Corrosion
สตีมแทรปทุกชนิดมีวิธีการทำงานสำคัญ 3 อย่างดังที่กล่าวมาข้างต้นเหมือนๆกันแต่แตกต่างที่การใช้คุณ – สมบัติของไอน้ำและคอนเดนเสทในการควบคุมการปิดและเปิด ค่าเฮด (Head) ที่แตกต่างกันระหว่างด้านเข้า (Inlet) และด้านออก (Outlet) ของสตีมแทรป จะเป็นตัวบอกให้สตีมแทรปทำงาน สตีมแทรปมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ Thermo- static trap, Mechanical trap และ Thermadynamictrap
วาล์วระบายอากาศ Air Vent
Air Vent มีหน้าที่ ระบายอากาศออกจากระบบของเหลว หรือ ระบบไอน้ำ เมื่อตอน เริ่มต้นเดินระบบ
สำหรับระบบของเหลว air vent มีลักษณะเป็นลูกลอย ซึ่งเมื่อเริ่มระบบ อากาศจะถูกระบายออกทาง Orifice ด้านบน เมื่ออากาศระบายออกหมด ระดับน้ำจะยกลูกลอยมาปิดรู Orifice ที่อยู่ด้านบนสำหรับระบบไอน้ำ ถ้าไม่มีวาล์วระบายอากาศอาจจะเกิดเสียงดังภายในท่อ เนื่องจากของเหลวหรือของไหลมาพร้อมอากาศภายในไลน์ท่อ
Sight Glass
ใช้เพื่อการดูสารไหลใน ขบวนการผลิต สามารถใช้ดูสารไหลที่เป็นเคมี สารไหลความร้อนสูง และไอน้ำได้
Temperature Regulator
ความหมาย คือ เครื่องบังคับวงจรของระดับความร้อนไม่ให้สูงเกินอัตรา, เครื่องให้อุณหภูมิ
Noiseless
วัสดุทำจาก stainless ป้องกันการกัดกร่อน ลดปัญหาการเกิดเสียง โครงสร้างเรียบง่าย ไร้ปัญหา